#สุขภาพ #ไลฟ์สไตล์

การตรวจ DNA บอกอะไรได้บ้าง มีกี่วิธี และใครบ้างที่ควรตรวจดีเอ็นเอ

เรามักจะได้ยินการตรวจ DNA พิสูจน์บุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการสืบคดีต่าง ๆ หรือเพื่อชี้ชัดถึงสถานะ ความสัมพันธ์ทางสายเลือด การตรวจ DNA พ่อลูก ซึ่งจริง ๆ แล้ว ระบบทางการแพทย์ประเภทนี้ สามารถที่จะใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ  และยังช่วยให้รู้ถึงพรสวรรค์ และความเป็นตัวตนของตัวเองได้มากขึ้น 

DNA คืออะไร 

DNA หรือ Deoxyribonucleic acid คือ สารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ในรูปของโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นเกลียวคู่คล้ายบันไดเวียน โดยมีกรดนิวคลิอิกอยู่ภายใน ใช้จำลองลักษณะทางกายภาพ ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย โดยลักษณะบางอย่างบน DNA สามารถสืบทอดส่งไปยังรุ่นต่อไปได้ ทำให้ลูกหลานมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนรุ่นก่อน ทั้งทางกายภาพ หรือแม้แต่ภาวะโรคต่าง ๆ การตรวจ DNA จึงสามารถช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือบอกได้ว่าผู้ตรวจกำลังเป็นโรคอะไรอยู่

การตรวจ DNA บอกอะไรได้บ้าง 

นอกจากจะใช้ตรวจเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลแล้ว ข้อดีของการตรวจ DNA ยังมีอีกหลายประการ ดังนี้ 

1. ช่วยให้วางแผนการกินได้อย่างเหมาะสม 

หลังจากที่ตรวจ dna จะทำให้คนตรวจรู้ถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายตัวเองเป็นอย่างไร จะได้เลือกทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายตนเอง 

2. ช่วยให้วางแผนออกกำลังกายได้ผลดี

ผลจากการตรวจดีเอ็นเอ จะแสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพทางร่างกายของเราเป็นอย่างไร มีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ช่วยให้วางแผนการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม และได้ผลดีสุขภาพ

3. รู้และเข้าใจสุขภาพผิว 

การตรวจดีเอ็นเอ สามารถตรวจสุขภาพผิวพรรได้ ทำให้รู้ถึงความแข็งแรง และ ความสามารถของผิวในการทนต่อแสงแดด ช่วยให้รู้ลิมิตในการออกไปในที่โล่งแจ้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิวของตนเอง 

4. เข้าใจสภาวะทางอารมณ์ 

DNA มีความเชื่อมโยงกับสภาวะทางอารมณ์ ดังนั้น การตรวจ DNA ช่วยให้เข้าใจนิสัย บุคลิกภาพ และลักษณะการเข้าสังคมของตัวเองมาก รวมไปถึงสุขภาพทางอารมณ์ในปัจจุบัน เช่น มีความเครียดสะสมเป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัว จะได้รู้แนวโน้มและหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกวิธี 

5. ช่วยให้ค้นพบความสามารถพิเศษ 

DNA สามารถบอกได้ถึงพรสวรรค์ของเราได้ด้วย ทำให้เราค้นพบและเข้าใจได้เร็ว ช่วยให้โฟกัสและพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ถูกจุด ลดการเสียเวลาในการลองผิดลองถูก

สำหรับผู้ที่ต้องทานยาเป็นประจำ การตรวจ DNA ช่วยให้หาแนวโน้มของโรคที่สืบทอดต่อมาจากพันธุกรรมได้ ส่งผลต่อการหาแนวทางป้องกันและวิธีรักษา เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคหรือช่วยได้ทันเวลา 

การตรวจ DNA มีกี่วิธี 

การตรวจ DNA สามารถทำได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้บริการตรวจของแต่ละแห่ง เช่น 

  • การตรวจเลือด (Blood Draw) 
  • การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบุกระพุ้งแก้ม (A Buccal Smear) 
  • การตรวจตัวอย่างน้ำลาย (A Saliva Sample) 
  • การเก็บตัวอย่างเซลล์ชิ้นเนื้อ (Fine Needle Aspiration : FNA) 
  • การเจาะตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้ว มักจะใช้กับเด็กทารกแรกเกิด (Newborn Screening) 
  • การเจาะเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เป็นวิธีใช้กับหญิงตั้งครรภ์
  • การตัดชิ้นเนื้อทารก (Chorionic Villus Sampling : CVS) 

การตรวจ DNA ส่วนใหญ่ มักจะใช้วิธีป้ายเยื่อบุข้างแก้ม แต่กรณีที่เป็นการตรวจ DAN ทารก แพทย์จะทำการเก็บเซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์ ผ่านการเจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจชิ้นเนื้อทารก ซึ่งแนวทางการเลือกตรวจดีเอ็นเอ จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หรือ จุดประสงค์ของผู้ตรวจว่าต้องการนำผลไปใช้ประกอบในทางด้านใด 

ปัจจุบันแพทย์สามารถตรวจ DNA ได้หลากหลายวิธี ดังนี้ 

  • Mitochondrial DNA (ไมโทคอนเดรีย ดีเอ็นเอ) เป็นสารพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากแม่ผ่านทางไข่ ซึ่งเป็นการสืบทอดดีเอ็นเอจากแม่สู่ลูกเท่านั้น เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ ที่ปรากฏกับเด็ก ซึ่งการตรวจแบบนี้ แพทย์จะใช้เทคนิคการตรวจด้วยสารสกัดย่อยของเซลล์ ไมโตคอนเดรีย เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดฝั่งมารดา เช่น แม่-ลูก พี่น้องร่วมมารดา หรือ ลูกพี่-ลูกน้อง เป็นต้น 
  • Fingerprint DNA คือ การตรวจสารพันธุกรรมด้วยวิธีการสกัดสาร DNA จากนิวเคลียสของเซลล์ โดยใช้ตัวอย่างจากเส้นผม เล็บ คราบอสุจิ หรือ ผ้าที่เปื้อนเลือด เป็นต้น สำหรับการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด บิดา – มารดา – บุตร ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ 2 แบบ คือ (1) การตรวจ dna ด้วยมือ โดยการใช้สารกัมมันตภาพรังสี และ (2) การตรวจ dna ด้วยเครื่องมือตรวจอัตโนมัติ 
  • X-STR คือ การตรวจสารพันธุกรรม dna จากในโครโมโซม X (เพศหญิง) เพื่อตรวจหาความสัมพันธ์ระหว่าง พี่ – น้อง ที่เป็นเพศหญิง หรือ ความสัมพันธ์ทางฝ่ายมารดา เช่น น้า – หลานสาว , ย่า-หลานสาว 
  • Y-STR คือ การตรวจสารพันธุกรรม dna จากในโครโมโซม Y (เพศชาย) เพื่อตรวจหาความสัมพันธ์ระหว่าง พี่ – น้อง ที่เป็นเพศชาย หรือ ความสัมพันธ์ทางฝ่ายบิดา เช่น อา – หลานชาย , ปู่ – หลานชาย 

ใครควรตรวจ DNA 

ไม่เพียงแต่การตรวจหาพยานหลักฐานในการสืบคดี หรือความสัมพันธ์ทางสายเลือดเท่านั้น แต่ผู้ที่ต้องการเข้าใจถึงความเป็นตัวตน พรสวรรค์ หรือแนวโน้มของการเกิดโรคที่อาจสืบทอดมาจากพันธุกรรม ก็สามารถเข้ารับการตรวจ DNA ได้เช่นกัน เช่น 

  • ผู้ที่ต้องการจัดตารางการกินอาหาร การเสริมอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับตนเอง 
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก 
  • ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร
  • ผู้ที่ต้องการรู้พรสวรรค์ที่เด่นที่สุดของตัวเอง 
  • ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยง่าย หรือป่วยบ่อย 
  • ผู้ที่ต้องการทราบการสืบทอดโรคทางพันธุกรรม เพื่อรู้หลักการดูแลสุขภาพของตน 
  • ผู้ที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำ หรือ เป็นนักกีฬา

ตรวจ DNA ราคาเท่าไร 

โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการตรวจ DAN ราคาค่อนข้างสูง มีตั้งแต่ 4,000 – 30,000 บาท ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับวิธีการและวัตถุประสงค์ของผู้ตรวจนำผลตรวจ dna ไปใช้ทำอะไร 

ตรวจ DNA ด้วยตัวเองได้ไหม 

ปกติการตรวจดีเอ็นเอจะต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือ ตรวจ dna กับทางสถาบันนิตินิเวช แต่ปัจจุบันมีชุดตรวจ Circle dna จำหน่าย สามารถนำมาตรวจด้วยตนเองที่บ้านได้แล้ว เพียงแค่ทำตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือชุดตรวจให้ครบถ้วน จากนั้น ส่งชุดตรวจกลับไปที่โรงพยาบาล หรือบริษัทที่จำหน่ายชุดตรวจ แล้วรอให้ฝ่ายนั้นส่งผลตรวจกลับมา 

ข้อดีของ Circle DNA คือ เก็บตัวอย่างจากน้ำลาย ทำให้ผู้ตรวจไม่ต้องเจ็บตัว และยังได้ผลลัพธ์ที่ลงรายละเอียดได้ลึกกว่าการตรวจดีเอ็นเอแบบปกติ ส่วนราคา Circle DNA อยู่ที่ประมาณ 6,000 – 10,000 บาท 

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *